“ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505 ระบุไว้ว่า บุคคลสัญชาติไทย ต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล และอาจจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ ทั้งนี้ได้อธิบายความหมายของชื่อตัว ชื่อสกุลและชื่อรองไว้ดังนี้
* ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
* ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
* ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล
โดยหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อตัว และชื่อรอง มีดังนี้
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
2. ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย
3. ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต
4. ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็น ชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้
สำหรับหลักเกณฑ์การตั้งนามสกุล มีดังนี้
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนาม ของพระราชินี ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนามเว้นแต่ราชทินนาม ของตน ของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
2. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือ ชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
3. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
4. ต้องมีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนาม เป็นชื่อสกุล