โลโก้ คือ รูปภาพที่แสดงถึงธุรกิจของคุณ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าชนิดของโลโก้มี 8 ประเภท แม้ว่าทั้งหมดจะเป็นการผสมผสานระหว่างตัวอักษรและรูปภาพ แต่โลโก้แต่ละประเภทก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันให้กับแบรนด์ของคุณ และเนื่องจากโลโก้ของคุณเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าใหม่จะเห็นคุณ จึงต้องแน่ใจว่าคุณทำถูกต้อง ต้องการเลือกประเภทโลโก้ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ นี่คือโลโก้ 8 ประเภทที่คุณต้องรู้
โลโก้ประเภทนี้มักจะใช้กับธุรกิจที่มีชื่อยาว แต่ต้องการย่อให้เหลือตัวอักษรแค่ไม่กี่ตัว เช่น Unilever , 3Broadband, และ NASA เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ลองนึกดูว่าระหว่าง NASA กับ National Aeronautics and Space Administration อย่างไหนจดจำง่ายกว่ากัน? ต้องเป็น NASA อยู่แล้วใช่ไหมล่ะ? ด้วยเหตุนี้เองทำให้โลโก้แบบ Lettermark มักถูกออกแบบให้เป็นรูปตัวอักษรที่อ่านง่าย โดยอาจจะมีการออกแบบลักษณะอักษรพิเศษหรือใส่องค์ประกอบที่ทำให้โลโก้โดดเด่นแตกต่างจากอักษรทั่วๆไป ซึ่งจะทำให้โลโก้นั้นเรียบง่ายและง่ายต่อการจดจำค่ะ
โลโก้ประเภทนี้จะคล้ายๆ กับประเภทแรกตรงที่ยังคงเป็นโลโก้ที่เน้นการใช้ตัวอักษรเหมือนกัน เช่น Visa, Coca-Cola หรือ Google จะต่างกันก็ตรงที่โลโก้ประเภทนี้จะเอาชื่อเต็มมาทำเป็นโลโก้แทนที่จะเป็นชื่อย่อ นั่นก็เพราะว่าชื่อธุรกิจเป็นคำที่แปลกใหม่มีเอกลักษณ์ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นคำที่ไม่มีความหมายก็ได้ แต่เมื่อผู้คนฟังหรืออ่านก็สามารถจดจำหรือติดปากได้ทันที และเนื่องจากโลโก้ประเภทนี้เน้นหนักไปที่ตัวอักษรมันจึงยังคงต้องการการออกแบบตัวอักษรที่เป็นเอกลักษณ์ หรือเลือกใช้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับธุรกิจนั่นเอง การเลือกใช้ลักษณะของตัวอักษรจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ควรเลือกแบบอักษรที่เหมาะสมกับธุรกิจที่ทำตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตภาพยนตร์สำหรับเด็ก มักจะใช้แบบอักษรที่ที่ดูสนุกสนาน อิสระ ในขณะที่หน่วยงานกฎหมายหรือหน่วยงานของรัฐ มักจะยึดติดกับตัวอักษรแบบดั้งเดิมซึ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจมากกว่า
โลโก้ประเภทนี้เป็นโลโก้ที่เกิดจากการเอารูปภาพที่เราคุ้นตาอยู่แล้วมาออกแบบใหม่ให้เป็นไอคอนที่จดจำง่ายขึ้น เช่น Apple, Twitter หรือ SHell ซึ่งเวลาเราเห็นครั้งแรกเราจะนึกภาพออกทันทีว่ามันคือรูปอะไร ส่วนใหญ่ธุรกิจที่ใช้โลโก้ประเภทนี้มักจะเป็นธุรกิจที่ผู้คนรู้จักดีอยู่แล้ว หากเป็นธุรกิจใหม่คนอาจจะเกิดความสับสน ว่าเป็นโลโก้ของแบรนด์อะไรกันแน่เพราะไม่มีตัวอักษรกำกับชื่อแบรนด์ไว้ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังก็คือการเลือกรูปภาพมาทำเป็นโลโก้ ไม่ว่าจะเป็นรูปสัตว์ ผลไม้ หรือสิ่งของที่จะนำมาเป็นโลโก้นั้นสื่อสารถึงชื่อแบรนด์หรือไม่? เกี่ยวข้องกับประเภทธุรกิจที่ทำหรือเปล่า? หรือต้องการให้มีความหมายอะไรแอบซ่อนอยู่เบื้องหลังไหม? เป็นต้น
โลโก้ประเภทนี้จะคล้ายกับแบบ Pictorial marks ตรงที่เน้นรูปภาพเช่นเดียวกัน แต่จะต่างกันตรงที่โลโก้ประเภทนี้จะเป็นภาพสมมุติที่เกิดจากการเอารูปทรงเราขาคณิตต่างๆ มาออกแบบให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่แปลกตาหรือเป็นรูปทรงนามธรรมแทนที่จะเป็นรูปสัตว์หรือผลไม้ ยกตัวอย่างเช่น BP, PEPSI และ Adidas ที่เป็นสัญลักษณ์เฉพาะของมันเอง ข้อดีของโลโก้ประเภทนี้ก็คือเราสามารถออกแบบให้เป็นโลโก้ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมากๆ แตกต่างจากสิ่งเดิมๆ ที่เราเคยเห็นในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารถึงคุณค่าของแบรนด์ผ่านลายเส้น รูปร่าง และสีที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาเองได้อีกด้วย
โลโก้ประเภทนี้มักจะออกแบบให้เป็นรูปคนหรือตัวการ์ตูนที่สื่อถึงผู้ก่อตั้งบริษัทหรือตัวแทนของแบรนด์ที่เป็นตัวเป็นตน เช่น KFC, Michelin, เถ้าแก่น้อย เป็นต้น โลโก้แบบมาสคอตเหมาะแก่การสร้างบรรยาการแบรนด์ให้คนคุ้นเคย รู้สึกเป็นกันเอง เป็นมิตร ดูมีชีวิตชีวา และสัมผัสได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังของการออกแบบโลโก้ประเภทนี้ก็คือรายละเอียดที่มากเกินไปของโลโก้อาจไม่เหมาะแก่การนำไปใช้บนสื่อต่างๆ ที่มีขนาดเล็กหรือถูกจำกัดจำนวนสี เป็นต้น
โลโก้ประเภทนี้เป็นเป็นการรวมกันระหว่างตัวอักษรและรูปภาพในโลโก้เดียวกัน อาจจะยืนข้างกัน บนกับล่าง หรือรวมผสานกันเป็นหนึ่งเดียวกันเลยก็ได้ เช่น Doritos, Burger King หรือ Lacoste ฯลฯ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้โลโก้แบบผสมผสานเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพราะผู้คนสามารถจดจำทั้งภาพและชื่อแบรนด์ได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดภาพที่แตกต่างกัน โลโก้เหล่านี้มักจะเป็นเครื่องหมายการค้าได้ง่ายกว่าเครื่องหมายภาพเพียงอย่างเดียว แม้จะไม่เคยรู้จักแบรนด์นั้นมาก่อนก็ตาม และในอนาคตก็ยังสามารถลดทอนชื่อแบรนด์ออกไปให้เหลือแต่รูปภาพอย่างเดียวก็ได้ เมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางแล้ว
โลโก้ประเภทสุดท้ายนี้เป็นโลโก้แบบตราสัญลักษณ์ที่อยู่ในกรอบเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน อาจจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม วงกลม โล่ หรืออืนๆ ที่ประกอบไปด้วยรูปภาพหรือตัวอักษรในกรอบนั้นอีกที เช่น Harvard, Starbucks, Harley-Davidson เป็นต้น โลโก้ประเภทนี้จะดูมีกลิ่นไอความคลาสสิก มั่นคง แข็งแกร่ง น่าเชื่อถือ จึงเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรของรัฐ โรงเรียน และทีมกีฬา แต่อาจจะมีข้อเสียบ้างในการนำไปใช้บนสื่อขนาดเล็กหรือการมองในระยะไกลๆ หากโลโก้ถูกออกแบบให้มีรายละเอียดที่มากเกินไป ดังนั้นการระมัดระวังไม่ให้โลโก้มีความซับซ้อนจนเกินไปก็ถือว่าเป็นความคิดที่ดี
แม้ว่าโลโก้จะดูมีกลิ่นไอความคลาสสิก จะมีสไตล์คลาสสิก แต่บริษัทบางแห่งก็ปรับรูปลักษณ์ตราสัญลักษณ์แบบดั้งเดิมให้ทันสมัยขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการออกแบบโลโก้ที่เหมาะกับศตวรรษที่ 21 เช่น สัญลักษณ์นางเงือกอันเป็นสัญลักษณ์ของ Starbucks เป็นต้น
สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นกิจการใหม่ ก็อย่าลืม เลือกใช้ชื่อบริษัทมงคล หรือ ชื่อแบรนด์/ร้านมงคล เสริมดวงกิจการ เพื่อเป็นการปูทางธุรกิจที่นำไปสู่ความสำเร็จและปราศจากอุปสรรคค่ะ