นักธุรกิจ และผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านอาจมีความสงสัยว่า “สโลแกนมีความจำเป็นมากแค่ไหน” แต่รู้หรือไม่ว่า สโลแกนดี ๆ เพียงแค่ประโยคสั้น ๆ ประโยคเดียวจะสามารถทำให้ธุรกิจของท่านนั้น เป็นที่รู้จัก ช่วยกระตุ้นยอดขาย ทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
โดยการทำธุรกิจนอกจากการสร้างแบรนด์สินค้า ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบโลโก้ หรือตั้งชื่อแบรนด์แล้ว การคิดและสร้าง “สโลแกน” สินค้าให้โดนใจ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งสโลแกน คือ คำคม หรือข้อความสั้น ๆ สามารถจูงใจ และบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า ไม่ว่าจะเป็น จุดเด่น ข้อมูล หรือคุณลักษณะต่าง ๆ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และทำให้เกิดความรับรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมุมมองและพฤติกรรมของผู้โภค ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงเวลา และวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำตัวแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
โดยส่วนใหญ่แล้ว สโลแกนจะต้องสะท้อนถึงประโยชน์ของแบรนด์ หรือความคิดของแบรนด์ที่ต้องการจะสื่อสารออกไป สโลแกนสินค้าที่ดีต้องไม่ซับซ้อนจนเกินไป ใช้หลักการทางภาษา เช่น การเล่นคำ คำคล้องจองต่าง ๆ เพื่อเพิ่มสะดวกและง่ายในการจดจำ สามารถสร้างความโดดเด่น และเน้นความเอกลักษณ์ของแบรนด์ท่ามกลางคู่แข่งของท่านได้
ควรตั้งสโลแกนสินค้าให้มีความสั้น กระชับ เพื่อให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในกรณีที่สโลแกนเป็นประโยคที่ยาวเกินไป จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ยาก ในทางกลับกันถ้าทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำสโลแกนของเราได้ ก็จะสามารถจดจำแบรนด์ของท่านได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
เลือกคำที่เข้าใจง่าย หรือเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ควรนำภาษาวัยรุ่นหรือศัพท์สแลงมาใช้ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปคำศัพท์วัยรุ่นมักเกิดใหม่อยู่เสมอ และในภายหลัง กลุ่มลูกค้าที่ไม่ทันในกระแสก่อนหน้านี้อาจไม่เข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อในตัวสโลแกนได้ ทำให้สโลแกนต้องเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามเทรนด์ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อแบรนด์และการจดจำของลูกค้า ตัวอย่างศัพท์วัยรุ่น เช่น
การตั้งสโลแกนสินค้าให้มีความหมายที่ดี หรือมีความหมายเชิงบวก ฟังแล้วเกิดความรู้สึกดีต่อแบรนด์ จะสามารถโน้มน้าวผู้ฟังให้รู้สึกสนใจ จะสามารถแสดงจุดยืน และภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกค้า
การมีสโลแกนสินค้าเป็นของตัวเอง ทำให้ผู้บริโภคแยกออกได้ว่า แบรนด์ไหนเป็นแบรนด์ไหน แล้วเลือกตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะซื้อแบรนด์ใด ทำให้ช่วยประหยัดในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายที่น้อยลงในการโฆษณา โดยถ้ามีการตั้งสโลแกนที่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับแบรนด์อื่น จะทำให้คนที่ได้ยินสับสน และทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสโลแกนนั้นเป็นของแบรนด์สินค้าใด ตัวอย่างสโลแกนที่ใกล้เคียงแบรนด์อื่น เช่น
ในการตั้งสโลแกนสินค้า สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ เราต้องรู้ก่อนว่าเราขายสินค้า หรือให้บริการอะไรให้กับลูกค้า หรืออีกความความหมายหนึ่งนั่นก็คือในธุรกิจของท่านมีจุดขายในเรื่องใด และควรนำจุดนั้นมาสร้างภาพจำผ่านการตั้งสโลแกนของแบรนด์ ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และสามารถดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการได้อย่างตรงจุด
เป็นวิธีที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการพูดถึงโดยตรงว่าต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการใด โดยมักจะมีชื่อของสินค้ามาผสมรวมในสโลแกน นอกจากนั้นยังสามารถนำจุดเด่นของสินค้า โลโก้แบรนด์ หรือนำวิธีใช้งานมาตั้งเป็นสโลแกนได้ เช่น
เชื่อมโยงเรื่องราวหรือประสบการณ์ของแบรนด์ให้เข้ากับสโลแกน ซึ่งสโลแกนประเภทนี้ จะสะท้อนตัวตนและความเป็นมาของแบรนด์ ทั้งยังสามารถเล่าเรื่องและส่งต่อเรื่องราวให้ลูกค้าได้รับรู้
Think different (คิดต่าง ไม่เหมือนใคร) – Apple
โดยสโลแกนนี้ มีที่มาจากแนวคิดในการทำงาน และเป็นผลลัพธ์นวัตกรรมของ Apple ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก จึงถือเป็นการนำประสบการณ์ของ Apple มาเขียนเป็นสโลแกนประจำแบรนด์นั่นเอง
Just Do It (จงออกไปทำซะ) – Nike
Nike ได้เปิดตัวสโลแกนดังกล่าวในปี 1988 ด้วยโฆษณาของคุณลุงวัย 80 ปี ที่แสดงให้เห็นว่าอายุหรือสังขารไม่ใช่อุปสรรคในการทำบางสิ่งให้ถึงเป้าหมาย ทั้งยังเป็นภาพสะท้อนตัวตนของ Phil Knight (เจ้าของ Nike) ได้เป็นอย่างดีว่าถ้าหากวันนั้น เขาไม่เริ่มลงมือทำ ก็คงไม่มีแบรนด์ Nike ในวันนี้
เป็นการตั้งสโลแกน โดยการสร้างภาพจำให้แบรนด์ที่จะนำเสนอว่าอยากออกมาในลักษณะ ให้ดูน่าเชื่อถือโดยผ่านคำที่สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก หรือความทรงจำ สร้างแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นให้ความรู้สึกคล้อยตามไปกับแบรนด์ ซึ่งอาจจะเป็นคำสัญญา คุณสมบัติพิเศษ
เป็นการตั้งสโลแกนโดยนำวิสัยทัศน์ หรือจุดมุ่งหมายในอนาคตของทางแบรนด์หรือบริษัทนั้นมาตั้งเป็นสโลแกน เช่น
โดยการตั้งสโลแกนในรูปแบบนี้ จะทำให้ผู้คนจดจำได้ง่ายขึ้นว่าแบรนด์ของคุณนั้น เน้นขายสินค้าให้กับใคร เพศอะไร จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน เช่น
โดยคำแนะนำในส่วนนี้ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับแบรนด์ว่าต้องการสื่อสารหรือสะดวกในรูปแบบใดไปถึงกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
การตั้งสโลแกน ร่วมกับจังหวะเพลงหรือเสียงดนตรี เพื่อทำให้ร้องตามหรือพูดตามได้ง่าย จะทำให้ผู้ฟังนั้นจดจำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น
ในการของการใส่ชื่อแบรนด์ลงในสโลแกนนั้น จะใส่หรือไม่ใส่ขึ้นอยู่กับการตั้งสโลแกนว่าท่านตั้งมาจากอะไร เช่น ถ้าอยากตั้งสโลแกนโดยอยากชูจุดเด่นจากสินค้า ในกรณีนี้ก็ควรใส่ชื่อแบรนด์ลงไปในสโลแกนด้วย เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มชื่อแบรนด์ลงไปในสโลแกนจะช่วยให้แบรนด์จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
และในกรณีที่ไม่ได้ใส่ชื่อแบรนด์ในสโลแกนก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเช่นกัน โดยอาจเป็นการตั้งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของแบรนด์ หรือเป็นสโลแกนที่ต้องการสร้างภาพจำกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น
การตั้งสโลแกน โดยมีสัมผัสคำคล้องจองหรือความหมายไปในทางเดียวกัน จะทำให้เวลาอ่านแล้วลื่นไหลไปได้ด้วยดี การเลือกนำคำมาใช้สร้างสโลแกนจึงมีความสำคัญ ทั้งยังสามารถพูดได้ติดปากง่ายขึ้นด้วย เช่น
สโลแกน เป็นสิ่งที่สามารถสื่อถึงลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า ไม่ว่าจะเป็น จุดเด่น ข้อมูล หรือคุณลักษณะต่าง ๆ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งถ้าได้ตั้งสโลแกนตามลักษณะที่กล่าวไปข้างต้น รวมไปกับชื่อแบรนด์ที่ติดหู และโลโก้แบรนด์ที่สะดุดตา ก็จะเป็นที่จดจำได้ง่าย
ซึ่งเมื่อผู้บริโภครู้จักแบรนด์สินค้าแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้พวกเขาจดจำ และรู้สึกดีต่อแบรนด์ได้มากขึ้นก็คือ การที่พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้สินค้าและบริการของแบรนด์ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ สินค้าและบริการของก็จะต้องดีมีคุณภาพ ตรงตามสโลแกนของแบรนด์ด้วย ซึ่งทั้งสโลแกน ชื่อแบรนด์ และโลโก้ รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ ก็ต้องมีทั้งสองส่วนควบคู่กันไป
✦ ถ้าท่านต้องการสโลแกนสินค้า สโลแกนแบรนด์ ที่ใครได้ยินก็ติดหู สามารถติดต่อสอบถามกับทาง อ.ชัญ ได้ที่ Line: @theluckyname โดย อ.ชัญ จะตั้งสโลแกน ที่สื่อถึงลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า ไม่ว่าจะเป็น จุดเด่น ข้อมูล หรือคุณลักษณะต่าง ๆ หรือตามที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้สโลแกนของท่านสื่อถึงธุรกิจและเป็นที่น่าจดจำ
ดูรีวิว จากผู้ใช้บริการจริง ตั้งชื่อลูก ตั้งนามสกุล ตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อร้าน ออกแบบโลโก้ ดูฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล
อ.ชัญ thelucky ผู้เชี่ยวชาญด้านฮวงจุ้ย – www.theluckyname.com