ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการให้ฤกษ์ จำเป็นต้องเข้าใจเรื่อง “หมวดหมู่ของฤกษ์” ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มฤกษ์ต่าง ๆ โดยแบ่งออกตามลักษณะย่อย ๆ และหมวดหมู่หลัก เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน บทความนี้จะอธิบายที่มาของแต่ละฤกษ์ นับตั้งแต่ฤกษ์ย่อยไปจนถึงการจัดจำแนกหมวดหมู่ของฤกษ์
นวางค์ แปลว่า 9 หมายถึง 9 ส่วนของราศี โดยราศีหนึ่งมีทั้งหมด 30 องศา และเมื่อแบ่งออกเป็น 9 ส่วน แต่ละส่วนจะมีขนาดเท่ากับ 3 องศา 20 ลิปดา (200 ลิปดา) ซึ่งแต่ละส่วนเรียกว่า 1 นวางค์
ใน 1 ราศีจึงมีทั้งหมด 9 นวางค์ โดยเรียงลำดับดังนี้
นวางค์บางส่วนอาจถูกจัดว่าเป็น “ลูกพิษ” หรือส่วนที่ให้โทษ ไม่เหมาะกับการทำพิธีมงคล ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในส่วนต่อไป
ตรียางค์ แปลว่า 3 หมายถึง 3 ส่วนของราศี โดยเมื่อแบ่งราศี 1 ราศี ออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนจะมีขนาดเท่ากับ 10 องศา หรือ 3 นวางค์ รวมกันเป็น 1 ตรียางค์
ใน 1 ราศีจึงมีทั้งหมด 3 ตรียางค์ ได้แก่
นวางค์บางส่วนอาจถูกจัดว่าเป็น “ลูกพิษ” หรือส่วนที่ให้โทษ ไม่เหมาะกับการทำพิธีมงคล ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในส่วนต่อไป
หมู่ดาวฤกษ์ คือกลุ่มดาวที่ปรากฏอยู่ในตำแหน่งประจำ และพระจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในหมู่ดาวนั้น ๆ เรียกว่า หมู่ดาวฤกษ์ และเมื่อพระจันทร์โคจรผ่านครบ 27 หมู่แล้ว จะนับเป็นเวลา 1 เดือนทางจันทรคติ และสมมุติชื่อดาวฤกษ์ทั้ง 27 หมู่นั้นตามความหมายของรูปหมู่ดาว ซึ่งจะมีรูปคล้ายคลึงกับรูปนักษัตรต่าง ๆ และใช้หมายเลขกำกับหมู่ดาวตามลำดับ ตั้งแต่ 1 ถึง 27 ซึ่งนิยมเรียกกันว่า ฤกษ์ที่ 1 ฤกษ์ที่ 2 จนถึงฤกษ์ที่ 27 นั่นเอง
ฤกษ์ที่ | ชื่อหมู่ดาวฤกษ์ | ความหมาย | จำนวนดวงดาว | หมวดฤกษ์ |
---|---|---|---|---|
1 | อัชยุช (อัศวินี) | ดาวม้า | 7ดวง | ทลิทโทฤกษ์ |
2 | ภรณี | ดาวแม่ไก่ | 3ดวง | มหัทธโนฤกษ์ |
3 | กัตติกา(กฤตติกา) | ดาวลูกไก่ | 8ดวง | โจโรฤกษ์ |
4 | โรหิณี | ดาวจมูกม้า | 7ดวง | ภูมิปาโลฤกษ์ |
5 | มิคสิร(มฤคศิรษ) | ดาวหัวเนื้อ | 3ดวง | เทศาตรีฤกษ์ |
6 | อัทท(อารทรา) | ดาวฉัตร | 1ดวง | เทวีฤกษ์ |
7 | ปุนัพพสุ (ปุนวรสุ) | ดาวเรือชัย | 3ดวง | เพชฌฆาตฤกษ์ |
8 | ปุสย (ปุษย) | ดาวปุ้ยฝ้าย | 5ดวง | ราชาฤกษ์ |
9 | อสิเลส(อาศเลษา) | ดาวพ้อม | 5ดวง | สมโณฤกษ์ |
10 | มาฆะ | ดาววานร | 5 ดวง | ทลิทโท |
11 | บุพพผัคคุนี (ปุพพผลคุนี) | ดาวเพดานหน้า | 2 ดวง | มหัทธโน |
12 | อุตรผัคคุนี (อุตตรผลคุนี) | ดาวเพดานหลัง | 2 ดวง | โจโรฤกษ์ |
13 | หัตถ (หัสต) | ดาวฝ่ามือ | 5 ดวง | ภูมิปาโลฤกษ์ |
14 | จิตต (จิตตรา) | ดาวจรเข้ | 1 ดวง | เทศาตรีฤกษ์ |
15 | สาติ (สวาตี) | ดาวกระออมน้ำ | 4 ดวง | เทวีฤกษ์ |
16 | วิสาข (วิศาขา) | ดาวหนองลาด | 3 ดวง | เพชฌฆาตฤกษ์ |
17 | อนุราช (อนุราธา) | ดาวหงอนนาค | 4 ดวง | ราชาฤกษ์ |
18 | เฉฎฐ (เชษฏา) | ดาวช้างใหญ่ | 14 ดวง | สมโณฤกษ์ |
19 | มูล (มูละ) | ดาวช้างน้อย | 9 ดวง | ทลิทโทฤกษ์ |
20 | ปุพพาสาฬห (ปุพพอาษาฒ) | ดาวปากนก | 3 ดวง | มหัทธโนฤกษ์ |
21 | อุตราสฬห (อุตรอาษาฒ) | ดาวครุฑ | 5 ดวง | โจโรฤกษ์ |
22 | สาวน (ศรวณ) | ดาวหลักชัย | 3 ดวง | ภูมิปาโลฤกษ์ |
23 | ธนิษฐ (ธนิษฎา) | ดาวกา | 4 ดวง | เทศาตรีฤกษ์ |
24 | สตัพภิสช (สตภิศก) | ดาวมังกร | 4 ดวง | เทวีฤกษ์ |
25 | ปุพพภัทท (ปุพภัทรปท) | ดาวราชสีห์ตัวผู้ | 2 ดวง | เพชฌฆาตฤกษ์ |
26 | อุตราภัทท (อุตรปท) | ดาวราชสีห์ตัวเมีย | 2 ดวง | ราชาฤกษ์ |
27 | เรวติ (เรวดี) | ดาวปลาตะเพียน | 36 ดวง | สมโณฤกษ์ |
ชื่อฤกษ์ที่อยู่ในวงเล็บนั้น เป็นชื่อเรียกกันตามภาษาสันสกฤต ส่วนชื่อที่ไม่ได้อยู่ในวงเล็บไว้นั้น เป็นชื่อที่เรียกกันตามภาษามคธ ซึ่งสมัยโบราณมักเรียกแบบภาษามคธเป็นหลักนั่นเอง
ตามความหมายของหมู่ดาวฤกษ์นั้น บางตำราก็กล่าวแตกต่างกันไปคนละชื่อ อาจมีการเรียกชื่อหมู่ดาวคนละชื่อ ซึ่งส่วนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร เพราะรูปหรือลักษณ์ของแต่ละหมู่ดาวที่เห็น ถูกตีความไปตามทัศนคติของแต่ละท่าน ฉะนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะมองเห็นภาพนักษัตรต่างกันไป
เมื่อรวมจักรราศี 12 ราศีแล้วมี 27 หมู่ดาวฤกษ์ ราศีหนึ่งมี 9 นวางค์ ฉะนั้น 12 ราศีมีทั้งหมดรวม 108 นวางค์ ดังนั้นฤกษ์หนึ่ง ๆ จึงมี 4 นวางค์ แต่คำว่า นวางค์ ไม่นิยมเรียกกัน เพราะคำว่านวางค์นั้นสังกัดอยู่ใน ตรียางค์ จึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า บาทฤกษ์ แทน
หมู่ดาวฤกษ์ทั้ง 27 หมู่ แบ่งออกเป็น 3 กอง ได้แก่:
จากนั้นจะนำฤกษ์ของทั้ง 3 กองมารวมกันตามลำดับแล้วแยกเป็นหมวด ๆ โดย1หมวดมี3ฤกษ์ จะได้เป็น 9 หมวด และตั้งชื่อใหม่เป็นชื่อประจำหมวดทั้ง 9 โดยคำนึงถึงการนำหมวดฤกษ์แต่ละหมวดไปใช้งาน ทำให้เป็นที่มาของการเรียกชื่อฤกษ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นฤกษ์มงคล เหมาะแก่การทำสิ่งอันมงคล หรือฤกษ์อื่น ๆ ตามความเหมาะสมของฤกษ์ที่ควรเลือกใช้นั่นเอง
เรียกหมวดนี้ว่า “ทลิทโทฤกษ์” เป็นฤกษ์มงคลสำหรับเรื่องแห่งการขอ เชื่อว่าจะได้รับซึ่งผลการตอบกลับที่น่าพึงพอใจ
เรียกหมวดนี้ว่า “มหัทธโนฤกษ์” เป็นฤกษ์มงคลที่นับได้ว่าเป็นฤกษ์งามยามดี เหมาะสำหรับการใช้ทำกิจต่างๆที่มงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน เปิดกิจการ เป็นต้น
เรียกหมวดนี้ว่า “โจโรฤกษ์” เป็นฤกษ์ที่โดดเด่นเรื่องความกล้าหาญ ในสมัยก่อนนิยมใช้ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์งามยามดีในการยกทัพโจมตีข้าศึก หรือใช้สำหรับกลุ่มโจรเป็นฤกษ์มงคลในการทำกิจการปล้น ฉะนั้นฤกษ์นี้ไม่ได้เหมาะสมในการทำกิจอันเป็นมงคลนักนั่นเอง
เรียกหมวดนี้ว่า “ภูมิปาโลฤกษ์” เป็นฤกษ์งามยามดี โดดเด่นในเรื่องความมั่นคงถาวร สามารถใช้เป็นฤกษ์มงคลในการปลูกบ้าน สร้างตึก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
เรียกหมวดนี้ว่า “เทศาตรีฤกษ์” เป็นฤกษ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในงานสนุกสนาน โดดเด่นเรื่องความรื่นเริง ถ้าเป็นการเป็นการเปิดร้านอาหาร หรือบาร์ ฤกษ์นี้นับว่าเป็นฤกษ์มงคล
เรียกหมวดนี้ว่า “เทวีฤกษ์” เป็นฤกษ์งามยามดีที่โดดเด่นเรื่องเสน่ห์ นับว่าเป็นฤกษ์มงคลที่เหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับความสวยความงาม หรืองานที่ต้องใช้ความละเอียดความประณีต
เรียกหมวดนี้ว่า “เพชฌฆาตฤกษ์” เป็นฤกษ์ที่นิยมใช้เรื่องการทำประกอบพิธีเครื่องรางของขลัง การทำตะกรุด ฤกษ์นี้มีลักษณะคล้ายกับ “โจโรฤกษ์” แต่อาจมีความรุนแรงมากกว่า
เรียกหมวดนี้ว่า “ราชาฤกษ์” ฤกษ์นี้นับเป็นฤกษ์งามยามดีอันมงคล ซึ่งเหมาะสมในการทำการมงคลทุกสิ่งอย่าง
เรียกหมวดนี้ว่า “สมโณฤกษ์” เป็นฤกษ์งามยามดี เหมาะสมเกี่ยวกับงานด้านศาสนา สามารถใช้ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์มงคลในการทำกิจเช่น อุปสมบท ทำขวัญนาค หรือพิธีการที่เกี่ยวกับศาสนา
จากรายละเอียดที่มาของฤกษ์ต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้เห็นว่า ฤกษ์มงคล หรือฤกษ์งามยามดีที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนั้นมีที่มาอย่างไร และแต่ละฤกษ์มีความเหมาะสมที่ควรนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ต่างกัน หากใครที่กำลังมองหาเรื่องการดูฤกษ์ หรือ มองหาฤกษ์งามยามดีอยู่ หวังว่าบทความนี้จะเป็นตัวช่วยในการเลือกใช้ฤกษ์ได้ดีที่สุดสำหรับคุณค่ะ
บทความโดย
อ.ชัญ theluckyname “เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนชีวิต”
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ “ตั้งชื่อ – ฮวงจุ้ย”